ผู้จัดทำและดูเเล


นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต คณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจ

สาขาวิชาการเงิน [1/2554]

ร ายวิชา การจัดการธนาคารพาณิชย์ A1 (3635102)


นางสาวอรมรินทร์ วันศรี (ซฺิ้ม)

นายธิติพงษ์ มหาเมฆ (หลุย)

นายอิทธิพัทธ์ ไทรชมภู (นิค)

นายอภิชาติ เเก้วสุนีย์ (ปิง)

นายจักรพงษ์ ปิ่นเเก้ว (อุ้ม)

นายวัชรพล เอื้อสุขไพศาลกุล (บุ้ง)

นางสาวนันทนัช เล้าศศิวัฒนพงษ์ (มุก)

นางสาวกนกวรรณ ชะเอม (เฟิร์น)





รายละเอียดเพิ่มเติม : http://soclever1.blogspot.com/

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

SCB รุกปรับเป้าปั๊มรายได้

วันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2554


นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การที่ผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 เติบโตได้ดี ทำให้ธนาคารต้องมีการปรับเป้าไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเป้าสินเชื่อ ซึ่งเป้าเดิมที่ธนาคารตั้งไว้ในช่วงสิ้นปี 54 จะเติบโตเพิ่มขึ้น 10-12% แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปีนี้สินเชื่อกลับเติบโตไปแล้วถึง 21.1% ทำให้ธนาคารต้องมีการปรับเป้าสินเชื่อสิ้นปี 54 ใหม่ให้เติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 15-18% และในส่วนของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ก็มีทิศทางที่ดีขึ้น จากเป้าเดิมสิ้นปี 54 ทางธนาคารตั้งไว้ที่ 2.9% แต่ในครึ่งปีนี้ตัวเลขสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ที่ 2.69% ส่งผลให้ต้องมีการปรับเป้าใหม่เป็น 2.5% ในช่วงสิ้นปี 54

นอกจากนี้รายได้ที่มาจากค่าธรรมเนียมก็มีการปรับขึ้นเช่นกันจากเป้าเดิมสิ้นปี 54 ตั้งไว้ที่ 15% ขึ้นไป แต่ผ่านไปเพียงครึ่งปีแรกรายได้ค่าธรรมเนียมเติบโตไปแล้วถึง 34.2% ทำให้ต้องมีการปรับใหม่เป็นเติบโตเพิ่มขึ้น 25% ขึ้นไป และในส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือในส่วนของต้นทุนต่อรายได้ ที่ธนาคารตั้งเป้าในปี 54 ไว้ว่าจะให้อยู่ที่ประมาณ 45% แต่ในครึ่งปีแรกปีนี้ทางธนาคารทำให้ต้นทุนต่อรายได้อยู่ที่ 37% จึงมีการปรับเป้าในส่วนของต้นทุนต่อรายได้ในสิ้นปี 54 ให้ลดลงเหลือเพียง 43-44%

อีกทั้งในเรื่องของเงินกองทุนก็อยู่ในระดับที่สูงเช่นกัน อาทิ เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของเงินกองทุนของธนาคารที่ต้องตอบรับการกฎเกณฑ์ของบาเซิล 3 ที่จะต้องให้แต่ละธุรกิจมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตั้งแต่ 8-10% แต่ ณ ปัจจุบันเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารอยู่ที่ 10.5-10.7% และในเรื่องสาขาของธนาคารที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีการเปิดให้ครบ 1,050 สาขาในสิ้นปีนี้ ครึ่งปีแรกธนาคารก็เปิดไปแล้วถึง 1,019 สาขา รวมถึงเครื่องเอทีเอ็มที่จะมีการติดตั้งให้เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 9,250 เครื่องขึ้นไป ในครึ่งปีแรกทางธนาคารเปิดเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 8,169 เครื่องแล้ว

สำหรับในปีต่อๆ ไปจากนี้โครงสร้างลูกค้ารายย่อยของธนาคารอาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ จากเดิมที่เน้นในเรื่องการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะทำให้คู่แข่งเลียนแบบได้โดยง่าย ทำให้ธนาคารต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นการคิดถึงความต้องการลูกค้าเป็นที่ตั้ง โดยจะต้องมีการเปลี่ยนระบบใหม่ทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเทรนด์พนักงานในทุกสาขาให้มีความเข้าใจถึงตัวลูกค้า ว่าลูกค้าที่ประวัติแบบนี้ ต้องการผลิตภัณฑ์แบบไหน และอาจจะมีการจัดลำดับความเสี่ยงของตัวลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าที่เป็นลูกค้าที่ดีได้รับดอกเบี้ยที่สมเหตุสมผล

ทั้งนี้ การลงทุนในระบบอินเตอร์เน็ตให้มีการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้รวดเร็วที่สุด ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อยเช่นกัน ซึ่งในแต่ละปีทางธนาคารได้ใช้งบลงทุนในการพัฒนาด้านอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนหลายพันล้านบาท รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เสนอให้กับลูกค้าก็จะต้องสามารถครอบคลุมถึงลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งนี้การที่ธนาคารต้องหันมาปรับเปลี่ยนโครงสร้างลูกค้ารายย่อยเนื่องจากฐานลูกค้ารายย่อยเป็นฐานลูกค้าที่มีจำนวนมาก และการแข่งขันในปัจจุบันก็อยู่ในระดับที่สูง เนื่องจากมีธนาคารของภาครัฐเข้ามาแข่งขันในตลาดลูกค้ารายย่อยมากขึ้น ซึ่งการพัฒนาในรูปแบบนี้อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีขึ้นไปถึงจะเห็นผล และขณะนี้ธนาคารก็เตรียมที่จะเริ่มดำเนินการปรับแผนโครงสร้างลูกค้ารายย่อยแล้ว

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายธุรกิจในอีก 3 ปีข้างหน้าธนาคารจะมีการปรับแผนธุรกิจเชิงรุกทั้ง 3 ธุรกิจสำคัญของธนาคาร โดยในส่วนของธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารจะมีการขยายส่วนแบ่งทางการตลาดในเรื่องของค่าธรรมเนียมลูกค้ารายใหญ่ให้มากขึ้น ธุรกิจเอสเอ็มอีก็มีการตั้งเป้าที่จะขึ้นไปอยู่อันดับที่ 3 ซึ่งจะทำให้สินเชื่อในกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีทางธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 แสนล้านบาท และในกลุ่มลูกค้าบุคคล ธนาคารจะพยายามรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดในส่วนของสินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต และประกันเงินออมไว้ และจะมีการขยายส่วนแบ่งทางการตลาดในธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ โดยจะเน้นในเรื่องของจุดแข็งที่ธนาคารมีสาขาเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าภายใน 3 ปี จะเป็นอันดับ 1 ในส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และล่าสุดธนาคารได้ถูกเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินโดยบริษัทจัดลำดับความแข็งแกร่งทางการเงิน มูดี้ส์ จากเดิมที่อยู่ในระดับ D+ มาเป็นระดับ C- เช่นเดียวกับธนาคารกรุงเทพซึ่งเกณฑ์ในการตัดสินก็คือ ฐานะทางการเงินและกองทุน การรักษาศักยภาพในการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อย การผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงต่างๆ เป็นต้น



ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
Link : http://www.banmuang.co.th/economic.asp?id=247554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น