ผู้จัดทำและดูเเล


นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต คณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจ

สาขาวิชาการเงิน [1/2554]

ร ายวิชา การจัดการธนาคารพาณิชย์ A1 (3635102)


นางสาวอรมรินทร์ วันศรี (ซฺิ้ม)

นายธิติพงษ์ มหาเมฆ (หลุย)

นายอิทธิพัทธ์ ไทรชมภู (นิค)

นายอภิชาติ เเก้วสุนีย์ (ปิง)

นายจักรพงษ์ ปิ่นเเก้ว (อุ้ม)

นายวัชรพล เอื้อสุขไพศาลกุล (บุ้ง)

นางสาวนันทนัช เล้าศศิวัฒนพงษ์ (มุก)

นางสาวกนกวรรณ ชะเอม (เฟิร์น)





รายละเอียดเพิ่มเติม : http://soclever1.blogspot.com/

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

'ใบโพธิ์'ตัดขายหนี้เน่า5.3พันล.รุกวาณิชธนกิจ

8 กันยายน 2554


นายสุเมธ มณีวัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) เปิดเผยว่า บสก.ร่วมลงนามกับธนาคารไทยพาณิชย์ ในสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) มูลหนี้รวม 5,298 ล้านบาท จากจำนวนลูกหนี้ 981 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล คิดเป็น 64% และเป็นลูกหนี้ที่อยู่ในเขตต่างจังหวัด 36%
 ปัจจุบัน บสก. มี NPL ในความดูแลทั้งสิ้น 44,286 ราย คิดเป็นมูลค่า 234,723 ล้านบาท ขณะที่มี NPA จำนวน 14,173 ราย คิดเป็นมูลค่า 35,971 ล้านบาท
 นายอาทิตย์ นันทวิทยา รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารปรับรูปแบบการบริการทางการเงินใหม่แก่ลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ โดยธนาคารจะเข้าไปให้บริการวาณิชธนกิจมากขึ้น ซึ่งจะเริ่มให้บริการการเงินในทุกรูปแบบแก่บริษัททั้งองค์กร เช่นเดียวกับที่ให้สินเชื่อกลุ่มทรู เพื่อหันมาเน้นการทำรายได้จากค่าธรรมเนียมจากลูกค้ากลุ่มนี้มากขึ้น
 โดยแผนนี้จะเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียม (ฟี) มากขึ้น และลดสัดส่วนรายได้จากการปล่อยสินเชื่อลง จากเดิมที่รายได้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 70% แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 55% และค่าฟีจากเดิม 30% และขณะนี้เพิ่มเป็น 45% เพราะต้องการให้เหมือนกับประเทศพัฒนาแล้วและรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คาดว่าการให้บริการดังกล่าวจะสร้างรายได้ค่าฟีให้กับธนาคารเพิ่มขึ้นปีละ 3,000 ล้านบาท.



วิเคราะห์ข่าว
ธนาคารไทยพาณิชย์ได้เพิ่มรูปแบบการให้บริการทางการเงินใหม่ขึ้น  โดยเน้นในเรื่องของการบริการวาณิชธนกิจที่ครบคลุมบริการทางการเงินทุกรูปแบบ  ทั้งนี้ก็จะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับกลุ่มของลูกค้ามากขึ้น  ถือเป็นกลยุทธ์ใหม่ของธนาคารที่จะทำให้ธนาคารมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการใช้บริการของลูกค้า  เป็นการเพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียมนั่นเอง


ที่มา  : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น