ผู้จัดทำและดูเเล


นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต คณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจ

สาขาวิชาการเงิน [1/2554]

ร ายวิชา การจัดการธนาคารพาณิชย์ A1 (3635102)


นางสาวอรมรินทร์ วันศรี (ซฺิ้ม)

นายธิติพงษ์ มหาเมฆ (หลุย)

นายอิทธิพัทธ์ ไทรชมภู (นิค)

นายอภิชาติ เเก้วสุนีย์ (ปิง)

นายจักรพงษ์ ปิ่นเเก้ว (อุ้ม)

นายวัชรพล เอื้อสุขไพศาลกุล (บุ้ง)

นางสาวนันทนัช เล้าศศิวัฒนพงษ์ (มุก)

นางสาวกนกวรรณ ชะเอม (เฟิร์น)





รายละเอียดเพิ่มเติม : http://soclever1.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ไทยพาณิชย์ปรับเป้าสินเชื่อรับ ศก.โต

อังคารที่ 26 กรกฎาคม 2554


นายญนน์ โภคทรัพย์ รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มลูกค้าบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สินเชื่อรายย่อยในครึ่งปีที่ผ่านมาเติบโตได้ดีในทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของสินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล ซึ่งธนาคารตั้งเป้าที่จะเติบโต สินเชื่อรายย่อยอย่างต่ำ 15% ทุกปี และคาดว่าปีนี้น่าจะเติบอยู่ที่ 17-18% จากยอดสินเชื่อคงค้างในส่วนของรายย่อยทั้งหมดของธนาคารขณะนี้อยู่ที่ 450,000-460,000 ล้านบาท โดยในส่วนของสินเชื่อรถยนต์ขณะนี้ธนาคารปล่อยสินเชื่อใหม่ไปแล้ว 32,000-33,000 ล้านบาท จากในปีนี้ที่ทางธนาคารตั้งเป้ายอดสินเชื่อคงค้างในส่วนของธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ไว้ที่ 1 แสนล้านบาท แต่คาดว่ายอดเป้าสินเชื่อคงค้างเดิมน่าจะทำได้ราวเดือน ส.ค.54 จึงทำให้ปีนี้ต้องมีการปรับเป้ายอดสินเชื่อคงค้างของธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ไปอยู่ที่ 120,000-130,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากที่ยอดส่งรถไม่ว่าจะเป็นรถปิกอัพ หรือรถเก๋งที่ค้างสต๊อก จะกลับมาส่งได้เหมือนเดิม เนื่องจากปัญหาเรื่องชิ้นส่วนรถยนต์เริ่มคลี่คลาย เพราะประเทศญี่ปุ่นเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

ส่วนสินเชื่อบ้านตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อใหม่ไปแล้ว 44,000 ล้านบาท จากเป้ายอดสินเชื่อใหม่ที่ตั้งไว้ทั้งปีอยู่ที่ 8-9 หมื่นล้านบาท และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในส่วนของสินเชื่อบ้านขณะนี้อยู่ที่ 1.4-1.5% คาดว่าในครึ่งปีหลังสินเชื่อบ้านก็น่าจะเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จากการที่ในช่วงครึ่งปีแรกมีการชะลอการโอนบ้าน ก็จะกลับมาโอนบ้านกันในครึ่งปีหลัง ซึ่งน่าจะเริ่มเห็นการโอนบ้านตั้งแต่ ก.ค.54 เป็นต้นไป ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเอสเอ็มอีรายย่อยในครึ่งปีแรก เติบโตในส่วนของสินเชื่อปล่อยใหม่ราว 20,000 กว่าล้านบาท
โดยในส่วนของสินเชื่อบัตรเครดิตขณะนี้มีฐานบัตรอยู่จำนวน 2 ล้านใบ โดยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรของธนาคารในปี 53 เติบโตอยู่ที่ 130,000 ล้านบาท และในปีนี้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโตเพิ่มขึ้นไปแล้ว 10-11% จากปีที่แล้ว คาดว่าในครึ่งปีหลังจะเติบโตได้ดีอีกเช่นกัน และน่าจะมากกว่าการเติบโตรายจ่ายผ่านบัตรเครดิตของทั้งตลาดประมาณ 1-2% ที่สำคัญลูกค้าของธนาคารมีการใช้จ่ายผ่านบัตรสม่ำเสมอถึง 70% ซึ่งยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเฉลี่ยต่อรายของธนาคารขณะนี้อยู่ที่ 70,000 บาท/บัตร/ปี สูงกว่ายอดใช้จ่ายเฉลี่ยผ่านบัตรเครดิตของทั้งตลาดที่ 50,000 บาท/บัตร/ปี และการรักษาคุณภาพของลูกค้าก็ทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของบัตรเครดิตทางธนาคารอยู่ที่ 1%
สำหรับยอดสินเชื่อคงค้างในธุรกิจสินเชื่อบุคคลขณะนี้เติบโตอยู่ที่ 18,000 ล้านบาท จากเป้ายอดสินเชื่อคงค้างของสินเชื่อบุคคลที่ธนาคารตั้งไว้ทั้งปีอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท ซึ่งจากการเติบโตได้ดีคาดว่าสิ้นปีน่าจะเกินจากเป้าที่ตั้งไว้ และการที่ธนาคารได้มีการปรับเป้าสินเชื่อรายย่อยในเกือบทุกธุรกิจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเศรษฐกิจเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งทางธนาคารยังได้มีการปรับกลยุทธ์ต่างๆ ภายในองค์กรและเน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้าให้ตรงกับความต้องการของผลิตภัณฑ์จริงๆ แต่ก็ต้องมีการจับตาดูนโยบายของภาครัฐบาลว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างกับตลาด
นายญนน์ กล่าวว่า ธุรกิจเงินฝากในกลุ่มรายย่อยของธนาคาร ขณะนี้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ 91-92% ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และในจำนวนนี้มีตั๋วแลกเงินบีอีอยู่ประมาณ 15% เพราะในปัจจุบันไม่จำเป็นแล้วที่ตั๋วแลกเงินบีอีจะมีผู้ลงทุนที่เป็นสถาบันหรือบริษัทเพียงอย่างเดียว เนื่องจากตั๋วแลกเงินบีอีที่เริ่มต้นหลักแสนก็มีบ้างแล้วจากเมื่อก่อนอยู่ที่หลักล้าน ทำให้กลุ่มลูกค้าบุคคลก็สามารถลงทุนในตั๋วแลกเงินบีอีได้
ล่าสุดธนาคารได้ร่วมมือกับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท จัดแคมเปญพิเศษ "บัตรเครดิตไทยพาณิชย์ แพลตินั่ม ให้คุณบินได้เร็วกว่าใคร" แก่สมาชิกบัตรเครดิตไทยพาณิชย์ บียอนด์ แพลตินั่ม และแพลตินั่ม วีซ่าทุกประเภท ด้วยการมอบสิทธิประโยชน์ในทุกแง่มุมของการใช้จ่ายและการเดินทาง ทั้งการใช้คะแนนสะสม SCB Rewards แลกรับเป็นไมล์สะสมรอยัลออร์คิด พลัส เพื่อบินสู่จุดหมายทั่วโลกได้เร็วขึ้น ซึ่งการทำโปรโมชั่นในครั้งนี้จะเป็นการเจาะฐานลูกค้าในกลุ่มที่มีการเดินทาง ทั้งเพื่อทำธุรกิจและการท่องเที่ยวอยู่เป็นประจำ หรือการใช้บัตรเครดิตเพื่อการพักผ่อน คาดว่าภายใน 3 เดือนแรกจะสามารถกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายผ่านบัตรดังกล่าวได้กว่า 1,200 ล้านบาท และในอนาคตก็จะมีการนำเสนอกิจกรรมและสิทธิพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้าอื่นๆ ต่อไป


สรุปและวิเคระห์ข่าว

            นายญนน์ โภคทรัพย์ รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มลูกค้าบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สินเชื่อรายย่อยในครึ่งปีที่ผ่านมาเติบโตได้ดีในทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของสินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล ซึ่งธนาคารตั้งเป้าที่จะเติบโต สินเชื่อรายย่อยอย่างต่ำ 15% ทุกปี และคาดว่าปีนี้น่าจะเติบอยู่ที่ 17-18% จากยอดสินเชื่อรายย่อยทั้งหมดของธนาคารขณะนี้อยู่ที่ 450,000-460,000 ล้านบาท โดยในส่วนของสินเชื่อรถยนต์ขณะนี้ธนาคารปล่อยสินเชื่อใหม่ไปแล้ว 32,000-33,000 ล้านบาทจากในปีนี้ที่ทางธนาคารตั้งเป้ายอดสินเชื่อคงค้างในส่วนของธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ไว้ที่ 1 แสนล้านบาทซึ่งส่วนหนึ่งมาจากที่ยอดส่งรถไม่ว่าจะเป็นรถปิกอัพ หรือรถเก๋งที่ค้างสต๊อก จะกลับมาส่งได้เหมือนเดิม เนื่องจากปัญหาเรื่องชิ้นส่วนรถยนต์เริ่มคลี่คลาย เพราะประเทศญี่ปุ่นเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนสินเชื่อบ้านตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อใหม่ไปแล้ว 44,000 ล้านบาท จากเป้ายอดสินเชื่อใหม่ที่ตั้งไว้ทั้งปีอยู่ที่ 8-9 หมื่นล้านบาท และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในส่วนของสินเชื่อบ้านขณะนี้อยู่ที่ 1.4-1.5% คาดว่าในครึ่งปีหลังสินเชื่อบ้านก็น่าจะเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่องเช่นกันโดยในส่วนของสินเชื่อบัตรเครดิตขณะนี้มีฐานบัตรอยู่จำนวน 2 ล้านใบ โดยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรของธนาคารในปี 53 เติบโตอยู่ที่ 130,000 ล้านบาท และในปีนี้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโตเพิ่มขึ้นไปแล้ว 10-11% จากปีที่แล้ว คาดว่าในครึ่งปีหลังจะเติบโตได้ดีอีกเช่นกันสำหรับยอดสินเชื่อคงค้างในธุรกิจสินเชื่อบุคคลขณะนี้เติบโตอยู่ที่ 18,000 ล้านบาท จากเป้ายอดสินเชื่อคงค้างของสินเชื่อบุคคลที่ธนาคารตั้งไว้ทั้งปีอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท ซึ่งจากการเติบโตได้ดีคาดว่าสิ้นปีน่าจะเกินจากเป้าที่ตั้งไว้ และการที่ธนาคารได้มีการปรับเป้าสินเชื่อรายย่อยในเกือบทุกธุรกิจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเศรษฐกิจเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งทางธนาคารยังได้มีการปรับกลยุทธ์ต่างๆ ภายในองค์กรและเน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้าให้ตรงกับความต้องการของผลิตภัณฑ์จริงๆ แต่ก็ต้องมีการจับตาดูนโยบายของภาครัฐบาลว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างกับตลาด
นายญนน์ กล่าวว่า ธุรกิจเงินฝากในกลุ่มรายย่อยของธนาคาร ขณะนี้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ 91-92% ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และในจำนวนนี้มีตั๋วแลกเงินบีอีอยู่ประมาณ 15% เพราะในปัจจุบันไม่จำเป็นแล้วที่ตั๋วแลกเงินบีอีจะมีผู้ลงทุนที่เป็นสถาบันหรือบริษัทเพียงอย่างเดียว เนื่องจากตั๋วแลกเงินบีอีที่เริ่มต้นหลักแสนก็มีบ้างแล้วจากเมื่อก่อนอยู่ที่หลักล้าน ทำให้กลุ่มลูกค้าบุคคลก็สามารถลงทุนในตั๋วแลกเงินบีอีได้

ที่มา :หนังสือพิมพ์บ้านเมือง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น